วิเคราะห์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ไกเซอร์
ประวัติการสร้างพระสมเด็จไกเซอร์
สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ เป็นกรณีพิเศษก่อนที่พระองค์จะทรงเสร็จประพาสยุโรปต่างประเทศครั้งแรก
ปี ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสด็จประพาส ณ. ประเทศเยอรมันนี และขณะนั่งสนทนาอยู่กับพระเจ้าไกเซอร์วิลเลี่ยมที่ ๒ พระเจ้าไกเซอร์ทรงทอดพระเนตรเห็นที่กระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ มีรัศมีเปล่งออกมาเป็นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ชมพู รอบ ๆ กระเป๋าเสื้อ ท่านสงสัยจึงได้ทรงตรัสถามว่า พระองค์มีสิ่งใดอยู่ในกระเป๋า พระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ จึงทรงหยิบพระสมเด็จในกระเป๋าเสื้อออกมาให้ทอดพระเนตร และตรัสบอกว่าเป็นพระเครื่องซึ่งคนไทยนับถือ และนำติดตัวไว้เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ และเป็นพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธคุณทำให้จิตใจสบาย และมีความสุข
พระเจ้าไกเซอร์ทรงทราบเช่นนั้น ท่านสนพระทัยและเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก พระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ จึงทรงถวายให้ไว้เป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนี้ด้วย พระเจ้าไกเซอร์ทรงรับไว้และยกมือไหว้พนมมือแบบคนไทยแล้วนำมาใส่กระเป๋าเสื้อ ของพระองค์ สักพักได้เกิดรัศมีออกมาจากกระเป๋าเสื้อทำให้พระเจ้าไกเซอร์และข้าราชบริพาร ต่างแปลกใจไปตาม ๆ กัน พระเจ้าไกเซอร์ทรงเลื่อมใสพระสมเด็จที่ได้รับมาและเกิดความเชื่อมั่นในพระ พุทธเจ้าหลวง ร.๕ ของประเทศไทยเราว่าทรงมีพระบารมีและพระปรีชาสามารถยิ่ง พระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ จึงได้ทรงตั้งชื่อพระสมเด็จองค์นั้นว่า สมเด็จไกเซอร์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระสมเด็จไกเซอร์ วัดระฆัง พระประวัติศาสตร์ปลุกเสกนานที่สุด
พระสมเด็จไกเซอร์วัดระฆัง วันอังคารขึ้น 9 คำ เวลา 9 โมงเช้า
สำรับผงที่พิมพ์เป็นองค์พระประกอบด้วย
ผงวิเศษทั้ง 5 ผงปัถมัง ผงอิทธะเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช ผงพุทธคุณ ข้าวสุก เกสรดอกไม้ ดอกสวาด ดอกกาหลง ดอกรักช้อน กล้วยน้ำ กล้วยหอมจันทร์ ใบพลูร่วมใจ ใบพลู 2 หาง ตะไค่รเสมา ขี้ใคลพระพุทธ ไส้เทียนบูชา น้ำเซาะหินที่หยดอยู่ในถ้ำ ดิน 7 โปง ดิน 7 ป่า ใบราชพฤก กระแจะตนาวศรี ผงใบลาน ผงปูนเปลือกหอย
น้ำอ้อยเคี้ยวจนเหนียวเป็นยางมะตูม คั้นจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วโรยผงดำ นวด นวด ด้วยน้ำมันตั้งอิ้วแล้วจึงเอาไปพิมพ์ เนื้อพระแห้งแล้วจะออกขาวอมเหลืองนิดๆเหมือนทุเรียนที่เริ่มสุก
เนื้อแข็งแกร่งนึกนุ่ม พิมพ์พระยังไม่ถึง 500 องค์ หลวงตาพลอยก็ใด้เอาแม่พิมพ์ไปล้างไม่รู้ไปทำอีถ้าไหนแม่พิมพ์หล่นแตกก็เลยใด้เท่านั้น ใด้องค์พระที่สมบูรณ์ 300 องค์ บิ่น
มุมร้อยกว่าองค์ ถวายพระพุทธเจ้าหลวง 190องค์ นายทหารติดตาม 100 องค์ ที่หักบิ่นแจกพวกบ้านช่างหลอ่ไป 50 องค์ ที่เหลือพวกตำรวจวังขอไปคนละองค์ อยู่ที่หลวงตา
พลอย 3 องค์ ปู่คำขอไป 1 องค์ ปลัดมิศร์ขอไป 1 องค์ พระพิมพ์นี้หาดูยากเพราะว่าทำน้อย ต่อมาตอนหลังใด้เรียกพระพิมพ์ หน้าโหนกเศรียรโล้นเป็นสมเด็จไกเซอร์มาโดยตลอด หมายเหตุ พระพิมพ์ไกเซอร์ที่สร้างรุ่นเดียวกันนั้นยังมีอีก 2 พิมพ์ นายจอนวงค์ช่างหล่อช่างสิบหมู่โรงกษาปร์ใด้ถามปู่คำว่าทำไมพระคุณท่านจึงทำพระพิมพ์นี้เป็นพิเศษปู่คำว่าพระคุณท่านตั้งใจจะถวาย ร. 5 เสด็จประภาสยุโรปจึงทำการปลุกเสกเป็นพิเศษ และทำครั้งเดียวเท่านั้นเฉพาะพิมพ์ไกเซอร์ พระพิมพ์นี้มีอานุภาพมากถ้าใครมีไห้วบูชาจะคุ้มใด้ทั้งบ้านทั้งครัวเรือน
ดูรูปที่ 1 องค์แรกสีน้ำตาลมีส่วนผสมน้ำอ้อยเคี่ยวตามสูตร
1.ชุ้มผ่าหวายเสมอกันทั้ง 4 ด้าน
2.ศรีษะโล้นมีหู 2 ข้างธรรมดาหูบายศรี แต่หนากว่าหูบายศรีธรรมดา
3.หัวไหล่มนกลมเอวสมกับหน้าอก วงแขนทอดโค้งเป็นวงกลมลงมาจรดหน้าตัก หัวเข่ามนทั้ง 2 ข้างหน้าตักเว้ารับวงแขน
4.องค์พระนั้งหัวเข่าออกมานอกบัวทั้ง 2 ข้าง
5.ฐานบัว 5 กลีบ รองรับองค์พระ บัวกลีบกลางจะใหญ่กว่าข้างๆ
6.ฐานชั้นกลางเป็นฐานสิงห์รองรับบัวไว้
7.ฐานชั้นล่างเป็นหน้ากระดาน ฐานหน้ากระดานตัดเฉียงรองรับฐานสิงห์ ปลายฐานเกือบชิดชุ้มผ่าหวาย
พระพิมพ์ไกเซอร์จึงผิดกับพระสมเด็จทุกๆพิมพ์
ตอนที่พระพุทธเจ้าหลวงนั้งสนทนากับพระเจ้าไกเซอร์ พระเจ้าไกเซอร์ใด้สังเกตเห็นกระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวงมีรัศมีพวยพุ้งออกจากกระเป๋าเสื้อเป็นสี เขียว เหลือง ส้ม
จึงถามว่าในกระเป๋ามีอะไร พระพุทธเจ้าหลวงจึงหยิบพระสมเด็จไห้ดูพร้อมตรัสว่าของสิ่งนี้เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชาวไทยเป็นอย่างมากมีพกติดตัวตลอดเวลาไว้ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว พระพุทธเจ้าหลวงจึงมอบเป็นที่ระลึกแก่พระเจ้าไกเซอร์ พระเจ้าไกเซอร์จึงพนมมือเหนือหัวแสดงความเคารพอย่างสูง แล้วใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อปรากฏมีรัศมีพวยพุ้งออกมาจากกระเป๋าเสื้อพระเจ้าไกเซอร์อีก ข้าราชบริพานเห็นอย่างนั้นต่างก็แปลกใจ พวกข้าราชการจะตั้งค่าเช่าบูชาองค์ ละ 5 ชั่ง ซึ่งในสมัยนั้นเงิน 5 ชั่งสามารถจะซื้อที่นาใด้ถึง 100 ไร่ และมีคนเข้าใจผิดพิมพ์เศียรโตก็เรียกเป็นพิมพ์ไกเซอร์ด้วย
ดูรูปที่3.องค์เหลืองมีเส้นบังคับพิมพ์ด้านข้างๆๆสี่ด้านเป็นบล๊อกสำเร็จเวลาดูพระ2411ให้ดูตรงเส้นบังคับตรงขอบพระ4ด้านและมีพิมพ์เล็กพิมพ์กลางและองค์ที่เห็นอยู่เรียกพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่สร้างหลายวาระหลายเนื้อโดยเฉพาะ2411
ข้อสรูปพระไกเซอร์
ขั้นแรกน้ำอ้อยเคี้ยวจนเหนียวเป็นยางมะตูม คั้นจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วโรยผงดำ นวด นวด ด้วยน้ำมันตั้งอิ้วแล้วจึงเอาไปพิมพ์ เนื้อพระแห้งแล้วจะออกขาวอมเหลืองนิดๆเหมือนทุเรียนที่เริ่มสุก คุณคิดว่าพระที่เคี่ยวด้วยน้ำอ้อยจะมีลักษณะเป็นแบบไหนเมือเวลานานไปผสมด้วยอินทรีย์วัตถุมากมาย ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย
พระแท้สวยทั้งสององค์ครับ
ตอบลบแต่พิจารณาอีกครั้ง องค์ขวามือหน้าจะถูกเนื่อพระที่สุด เพราะสิออก เหลืองนวลเหมื่อนทุเรียนเพิ่งสุก ต้องตามตำราเพราะใสกระแจะตนาวศรีที่ออกสีเหลือง
ตอบลบ